top of page

Featuring perspectives from students attending the Community Voices | Cultural Heritage Management Field School, this blog will attempt to document thoughts, feelings, learning points and experiences throughout their time here in Songkhla Old Town.

เรื่องราวในมุมมองของ นักศึกษา ในการเข้าร่วมรับฟังเสียงจากชุมชน |โครงการลงพื้นที่ การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม. บล็อคนี้จัดทำเพื่อแสดงให้เห็นถึง ความคิด ความรู้สึก การเรียนรู้ ประสบการณ์ ตลอดเวลาในเมืองเก่าสงขลา

Hey There!

แต่เราก็หากันจนเจอ | Finally We Meet



เมืองเก่าสงขลา เมืองอันมีมนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ อาหารพื้นเมือง รวมถึงสถาปัตยกรรมอาคารบ้านเรือนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีน ชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิม นอกจากนี้เมืองสงขลายังมีเรื่องราวอะไรอีกมากมายที่รอให้คุณมาสัมผัสด้วยตนเอง.


The charm of the old town of Songkhla comes from the lives, food and architecture. No matter if you are Chinese, Thai , Buddhist or Muslim, the old town has a story for everyone.


เรื่องราวของเราในวันนี้ เกี่ยวกับอาคารหลังหนึ่ง ที่เป็นที่คุ้นตาในหมู่นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัย นั่นก็คือโมเดลเก่าจำลองอาคารขนาดเล็ก รูปทรงจีน ที่มีลักษณะสวยงาม สวยงามด้วยรายละเอียดเล็กๆ ที่วางอยู่ในโถงทางเข้าอาคารเรียน แต่น้อยคนที่จะรู้จักอาคารหลังนี้ เราจึงเกิดคำถามกับตัวเองว่า อาคารหลังนี้ อยู่ที่ไหน ยังคงมีอยู่หรือไม่ แล้วถ้ามีอยู่ ปัจจุบันใช้ทำอะไร อาคารจะได้รับการดูแลอยู่หรือเปล่า เราจึงออกตามหาอาคารหลังนี้ จากโมเดลที่พวกเราเคยเห็นจนชินตา.


In the University of Technology Srivijaya (RMUTSV), there is a model of an old Chinese shophouse that has been beautifully detailed. While it was quite a familiar sight amongst students, we never knew where it was and took it upon ourselves to find out.


ภาพโมเดลย่อส่วนอาคารทรงจีนพานิช I Chinese shop house models.

เช้าวันศุกร์ที่ยี่สิบเก้า เราตัดสินใจออกตามหาอาคารหลังนี้ด้วยจักรยานยนต์ ด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าว และผู้คนที่สัญจรผ่านไปผ่านมาในเมืองเก่าสงขลา เริ่มออกตามหาจากถนนพัทลุง เราก็ไม่เห็นบ้านหลังนั้น จึงเริ่มตามหาใหม่ในถนนนครนอก ก็ยังไม่เจอ เราขับรถวนกันอยู่นาน จนมาถึงถนนนครใน บริเวณทางเข้าถนนหนองจิก เรารู้สึกคุ้นแต่ไม่แน่ใจว่าอาคารที่เราตามหาอยู่หรือเปล่า จึงเปิดรูปภาพถ่ายของโมเดลจากโทรศัพท์มีเทียบดู สรุปว่าอาคารนี้คืออาคารที่เราตามหาอยู่

One morning, we decided to look for the location of the building on motorbike. After combing through Phatthalung and Nakhorn Nork Road, we finally saw it at the entrance of Nong Chik Road.

ภาพอาคารจีนพานิช I Chinese shop house

อาคารหลังนี้ มีป้ายหน้าร้านเขียนว่า “ก๋วยเตี๋ยวเนื้อนครใน” เราจึงเดินเข้าไปสอบถามแม่ค้าหรือเจ้าของร้านว่า อาคารหลังนี้ ใช่อาคารหลังเดียวกับรูปภาพในโทรศัพท์มีถือหรือป่าว เจ้าของร้านตอบว่าใช่ ร้านแห่งนี้ ขายก๋วยเตี๋ยวเนื้อมาหลายปีแล้ว เราจึงขออนุญาตเจ้าของร้าน เยี่ยมชมอาคาร แต่ก่อนอื่น เราขอลิ้มลองรถชาติของก๋วยเตี๋ยวเนื้อที่เจ้าของร้านบอกว่ารสชาติอร่อยสุดในย่านนี้ น้ำก๋วยเตี๋ยวหอมอร่อย เนื้อวัวนุ่ม เสิร์ฟพร้อมน้ำเก็กฮวยเย็นชื่นใจ จากนั้นเราจึงถือโอกาสเยี่ยมชมร้านค้า

Upon this discovery, we decided to confirm with the owner if the model in RMUTSV was indeed the one that they were currently occupying. Turns out that it was also occupied by a kuay teaw shop and we decided to have a taste before asking to view the interior of the building.

ภาพหน้าร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อนครใน I Front of shop house

ภาพเกี๋ยวเตี๋ยวเนื้อ I Kuay teaw with beef

เสิร์ฟพร้อมน้ำเก๊กฮวย I homemade iced chrysanthemum tea.

เจ้าของร้านเป็นกันเอง I friendly vendor

อาคารหลังนี้ในปัจจุบันใช้เพียงการค้าขายเท่านั้น ไม่มีผู้อยู่อาศัย ลักษณะเป็นอาคารรูปแบบจีนพานิช ภายในแบ่งเป็น 2 ชั้น ช่วงกลางของบ้านเปิดโล่ง ไร้หลังคาคลุม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาและสังกะสีบางส่วน

The building is being used for commercial purposes only and is built in the Chinese Shop House style. There are 2 storeys with an airwell for ventilation and clay tiles and zinc sheets for the roof.

ช่องระบายอากาศ I Songkhla style fenestration.

ลวดลายของผนังเก่า I Old wall texture.

ภาพถ่ายจากหลังร้าน I Taken from the back of shop house.

ภาพสเกตร้านค้า I sketch by Pep

bottom of page